วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

#ลิขิตพระสังฆราชนำไปสึกพระได้หรือไม่?



คำถามที่ค้างคาใจหลายๆคนว่า ลิขิตพระสังฆราชคืออะไร?? 
ลิขิตพระสังฆราช นำไปอ้างใช้จับสึกพระได้หรือไม่??

บุคคลอ้างพระลิขิตเพื่อนำไปสู่การจับสึกพระทำได้หรือไม่?


         ขอบเขตอำนาจของพระสังฆราชอยู่ตรงไหน  และบุคคลนำพระลิขิตไปกล่าวอ้าง
              เพื่อจับ “สึกพระได้หรือไม่

       
         พระพุทธเจ้าตอนจะปรินิพพาน ไม่ได้มอบให้ผู้ใดเป็นศาสดาแทน  แต่ท่านให้ยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนท่าน  ต่อมาภายหลังมีการตั้งตำแหน่งทางพระ  ตั้งแต่พระสังฆราชพระผู้ปกครองตามลำดับชั้นต่าง ๆ รวมถึงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ก็เพื่อให้เป็นเครื่องมือช่วยดูแลคณะสงฆ์  ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย
              ธรรมะวินัย  จึงเป็นใหญ่  กฎระเบียบต่าง ๆ จะเป็นรอง  และจะต้องไม่ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัย


อำนาจของพระสังฆราชและพระผู้ปกครอง จะมี 2 ส่วนหลักคือ
              1. อำนาจในการปกครอง  เป็นอำนาจในการดูแลพระภิกษุและบุคลากรในสังกัดของท่าน  จะแต่งตั้ง  โยกย้าย ก็ทำได้ในขอบเขตอำนาจนี้
               2. อำนาจในการตัดสินความผิดพระ     โดยพระธรรมวินัย   ไม่ได้มอบอำนาจให้ใครตัดสินความผิดพระโดยลำพัง  การตัดสินต้องทำเป็นองค์คณะพิพากษา (แม้แต่จะบวชใครให้เป็นพระ ก็ต้องทำเป็นองค์คณะ  พูดได้ว่า พระธรรมวินัยไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้ใดผู้หนึ่งมีอำนาจ  ชี้ให้ใครบวช  หรือ ชี้ให้ใครสึก จะต้องทำเป็นองค์คณะเท่านั้น)


         ดังนั้น การกล่าวอ้างเอา "พระลิขิต" มาตัดสินให้ใครปาราชิกจะทำไม่ได้      
               
                อย่าว่าแต่ พระลิขิตที่เป็นตัวหนังสือ แม้ว่าพระสังฆราชจะพูดด้วยตัวท่านเองก็ยังเป็นความเห็น  ในสถานะที่ท่านเป็นหนึ่งในองค์ผู้พิพากษาในมหาเถรสมาคม  ถึงท่านจะเป็นประธานในมหาเถรสมาคม  แต่การตัดสินก็ต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมของมหาเถรสมาคม ซึ่งเปรียบไปแล้วเหมือนกับที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา (องค์คณะผู้พิพากษาสูงสุดในกฎหมายทางโลก)
ในทางปฏิบัติ การสึกของพระ  จะเห็นได้ใน 3 ทาง คือ

1. ท่านมีความยินดีในเพศสมณะแต่เพียงเท่านั้น  ก็เปล่งวาจาสึก ไปใช้ชีวิตทางโลก
2. กระทำความผิดพระธรรมวินัย  แล้วยอมรับ  ก็เปล่งวาจาสึกด้วยตนเอง ซึ่งจะอยู่ต่อหน้าพระผู้        ปกครองรูปใดรูปหนึ่งก็ได้
3. ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด  แต่พระภิกษุปฏิเสธว่าตนเอง ไม่ได้ทำความผิดก็ต้องตั้งคณะขึ้น      มาสอบสวน  ถ้าผลออกมาว่าผิดจริง  ก็ถูกให้สึก  แต่ถ้าสอบสวนแล้วไม่ผิด ก็เป็นอันพ้นมลทิน
   โดยนัยยะตามข้อ 3 นี้  ในทางคณะสงฆ์จึงได้มีกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องตามพระธรรมวินัยคือ โดยจะ    มีองค์คณะผู้พิพากษาตามลำดับชั้น ตั้งแต่ลำดับชั้นต้น จนไปถึงระดับสูงสุดคือ ที่ประชุมมหาเถร      สมาคม

                            สรุปได้ว่า  บุคคลจะนำ  พระลิขิต 
                       ไปกล่าวอ้างเพื่อสึกพระ ทำไม่ได้


                         -------------------------------------